Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • กวางตุ้งเล็งแก้ปัญหาคนหนุ่มสาวว่างงาน ด้วยการส่งไปทำงานชนบท

กวางตุ้งเล็งแก้ปัญหาคนหนุ่มสาวว่างงาน ด้วยการส่งไปทำงานชนบท

ประเทศจีนขณะนี้กำลังประสบปัญหาอัตราการว่างงานในคนหนุ่มสาวและบัณฑิตจบใหม่พุ่งสูงขึ้น โดยบางเมืองมีคนหนุ่มสาวว่างงานถึงหลักแสนคน นั่นทำให้ทางการจีนพยายามหาแนวทางในการแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

กวางตุ้ง หนึ่งในมณฑลที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศจีน ได้เสนอทางออกของปัญหานี้ ด้วยการ “ส่งคนหนุ่มสาวที่ว่างงาน 300,000 คนไปยังชนบทเป็นเวลา 2-3 ปีเพื่อหางานทำที่นั่น” ซึ่งมีทั้งเสียงที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

มณฑลกวางตุ้งกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า จะช่วยบัณฑิตจบใหม่และผู้ประกอบการรุ่นใหม่หางานทำในหมู่บ้านตามชนบท นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้เยาวชนในชนบทกลับถิ่นฐานเพื่อหางานทำที่บ้านเกิดแทนที่จะทำงานในเมือง

การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นตามคำเรียกร้องของประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า ให้เยาวชนในเมืองหางานในพื้นที่ชนบทเพื่อพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจในชนบทคำพูดจาก เว็บสล็อตแท้

แนวคิดนี้คล้ายกับที่ผู้นำในอดีตอย่าง เหมา เจ๋อตุง เคยประกาศใช้เมื่อหลายสิบปีก่อน ซึ่งมีประชากรหลายสิบล้านคน โดยเฉพาะเยาวชนในเมือง ถูกบังคับย้ายถิ่นฐานไปยังพื้นที่ห่างไกลของจีน

 กวางตุ้งเล็งแก้ปัญหาคนหนุ่มสาวว่างงาน ด้วยการส่งไปทำงานชนบท

นโยบายดังกล่าวในยุคของเหมาถูกเรียกว่า “ขบวนการลงไปสู่ชนบท” เยาวชนในเมืองจำนวนหลายสิบล้านคนที่ถูกส่งไปยังพื้นที่ชนบท ทำให้สูญเสียโอกาสในการศึกษาที่สูงขึ้น และถูกขนานนามโดยนักประวัติศาสตร์ว่าเป็น “รุ่นที่หลงทาง”

แผนของกวางตุ้งเกิดขึ้นหลังมีการเปิดเผยตัวเลขอัตราการว่างงานในมณฑลของคนรุ่นใหม่อายุ 16-24 ปี พุ่งขึ้นเป็น 19.6% ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ ขณะที่ทั่วประเทศจีน ประเมินว่ามีเยาวชนคนรุ่นใหม่ตกงานประมาณ 11 ล้านคน

ทั้งนี้ อัตราการว่างงานของชาวจีนรุ่นใหม่อาจเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากมีนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอีกกว่า 11.6 ล้านคนจะสำเร็จการศึกษาในปีนี้ และต้องออกมาหางานทำในตลาดที่มีผู้คนหนาแน่นอยู่แล้ว

การว่างงานที่เพิ่มขึ้นในหมู่คนหนุ่มสาวส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นผลพวงจากนโยบายควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดของรัฐบาล ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็กอย่างหนักในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ไม่เพียงเท่านั้น การบังคับใช้กฎหมายปราบปรามบริษัทอินเทอร์เน็ต อสังหาริมทรัพย์ และการศึกษา ยังส่งผลกระทบต่อภาคเอกชน ซึ่งเป็นผู้จัดหางานมากกว่า 80% ในจีน

อัตราการว่างงานนี้ สวนทางกับอัตราการศึกษาของจีน ที่เยาวชนของจีนได้รับการศึกษามากที่สุดในรอบหลายทศวรรษ โดยมีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยและโรงเรียนอาชีวศึกษามากเป็นประวัติการณ์ แต่พวกเขากลับต้องเผชิญกับความไม่สอดคล้องกันระหว่างความคาดหวังและโอกาส เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างมาก

นั่นทำให้ชาวจีนรุ่นใหม่ที่สำเร็จการศึกษาระดับวิทยาลัยพากันพูดว่า พวกเขาติดกับดักของการศึกษาและติดอยู่ระหว่างทางเลือกที่ยากลำบาก ว่าจะประกอบอาชีพพนักงานออฟฟิศแล้วเสี่ยงต่อการตกงาน หรือจะถอดชุดนักเรียนออกและทำงานใช้แรงงานที่พวกเขาพยายามหลีกเลี่ยงแทน

เครก ซิงเกิลตัน จากมูลนิธิปกป้องประชาธิปไตย กล่าวว่า “นักศึกษาจีนที่เหน็ดเหนื่อยจากการถูกล็อกดาวน์เพราะโรคระบาดและความกังวลเกี่ยวกับรูปแบบทุนนิยมของรัฐที่พัฒนาไปเรื่อย ๆ ของจีน กำลังเริ่มตระหนักว่า ปริญญาอาจไม่ได้ยกระดับตำแหน่งทางสังคมของพวกเขา

“ดังนั้น ไม่เพียงแต่นักศึกษาจีนจะได้รับการศึกษาที่สูงเกินไปเพื่อตอบสนองความต้องการด้านแรงงานของจีนในปัจจุบัน แต่พวกเขาเชื่อมากขึ้นว่า ทักษะดังกล่าวจะไม่มีคุณค่าในวันพรุ่งนี้”

กระแสความหมดหวังในการศึกษาทำให้เทรนด์การใช้ชีวิตแบบไม่แยแส หรือชีวิตที่ไม่เชื่อในการทำงานหนัก เป็นที่พูดถึงมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่จีน (ที่หลายคนอาจเคยได้ยินในชื่อ “เทรนด์ ‘ป่านล่าน’ (摆烂) หรือที่แปลว่า ‘ปล่อยให้เน่าไป’”) ซึ่งแน่นอนว่าถูกทางการจีนพยายามแบนไม่ให้มีสการพูดถึง เพราะถูกมองว่าเป็นการบั่นทอนสังคมและเศรษฐกิจของจีน

นอกจากนี้ ทางการจีนยังเหมือนจะโทษด้วยว่า ปัญหาการว่างงานของคนรุ่นใหม่ เกิดจากตัวของคนรุ่นใหม่เอง โดยสื่อของรัฐหลายหัวได้ตีพิมพ์บทความหลายชุดที่วิพากษ์วิจารณ์เยาวชนว่า “จู้จี้จุกจิกเกินไป” เกี่ยวกับงาน และกระตุ้นให้พวกเขาละทิ้งความภูมิใจและหันมาใช้แรงงาน

ในบทความที่โพสต์เมื่อเดือนที่แล้วในบัญชี WeChat อย่างเป็นทางการของ สันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ (CYL) เรียกร้องให้บัณฑิตจบใหม่ของจีน “ถอดชุดนักศึกษาออก … ม้วนกางเกงแล้วลงไปที่ทุ่งนา”

แต่บทความดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับเยาวชนที่ตกงานมากขึ้น และกล่าวโทษทางการว่าทางการจีนต่างหากที่ไม่สามารถสร้างงานให้เพียงพอได้

เรียบเรียงจาก CNN

ภาพจาก AFP